หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assigment 4

Assigment 4

1.ให้นศ. ศึกษา gadget  ต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานใน gadget นั้นสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร
2.ให้นศ.สร้างgadget เพิ่ม 1 อย่างจากที่ได้ศีกษาจากข้อ 1

นำเสนองานในชั้นเรียนคราวหน้าเพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน


การตั้งค่า ตั้งค่า Gadget ลิงก์การสมัคร


ตั้งชื่อเรื่องแล้วกดบันทึก


จากนั้นหน้าตาจะโผล่มาเป็นดังรูปภาพ เมื่อผุูู้อ่านสนใจก็จะเลือกตามที่เขาชอบจากนั้นจะถูกดึง Feed ไปดังรูปครับ


ดู Gadget อื่นๆ ได้ที่ หน้ารวม Gadget


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษา 1 ระบบ ตามหลัก I P O ในแต่ละองค์ประกอบ ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆ มาด้วย



ระบบการสอนวิชาสังคมศึกษา


           


1.Input  ความรู้ การคัดสรรสาระที่จะเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีคุณค่าโดยเฉพาะต้องมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี เป็นประชากรที่มีการศึกษาเข้าใจปัญหาสังคม เชื่อมโยงเข้ากับการดำเนินชีวิตของผู้เรียนและผู้อื่น  เป็นผู้เข้าใจอดีต เพื่อเป็นสาระในการเผชิญและตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับปัจจุบัน  โดยตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.Process  ทักษะกระบวนการ ประกอบไปด้วยทักษะทางวิชาการและทักษะทางสังคม  ที่จำเป็นต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียนให้เป็นผู้รอบรู้  มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมและสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ผ่านทักษะทางด้านวิชาการ และทักษะทางสังคม

3.Output  การมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้และทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมประชาธิปไตย

Receive from


วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 2

Assignment 2

1. การผลิตน้ำตาลหรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ? 
    ถ้าเป็นให้บอกว่า I-P-O มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System (ระบบ)  เพราะลักษณะการผลิตน้ำตาลทรายดังกล่าว จะเป็นขั้นเป็นตอนและแบ่งแยกแต่ละองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน ตามองค์ประกอบของระบบคือ Input > Processor > Output กล่าวคือ มีปัจจัยหน้าที่และสามารถเข้าสู้กระบวนการซึ่งให้ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์

I (Input)
1. หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนในการตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ
2.ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย
3.สำหรับน้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส 
P (Process)
1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป
3. การระเหย (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup
4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)
Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลโดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไป
ทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบไปฟอกสีออกจึงต้องมีกระบวนกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ แล้วน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากกระบวนการข้างต้นจะถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเพิ่มไปอีกราวๆ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
6. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) จะได้สารละลายน้ำตาลดิบที่ผสมซึ่งเรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลืองหรือกากน้ำตาลออก
7. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกสีเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้น้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว หากถ้าเราต้องการผลิตน้ำตาลกรวดที่มีราคาแพงก็สามารถทำในขั้นตอนนี้ได้ครับ โดยที่เทคนิคก็คือ เราจะต้องปล่อยให้การตกผลึกนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (2-3วัน) จึงไม่ต้องแปลกใจครับว่าทำไมน้ำตาลกรวดถึงได้แพงซะเหลือเกิน การตกผลึกช้าๆนั้นจะทำให้ได้สารละลายที่มีโครงผลึกแน่นขึ้น เนื้อสัมผัสถึงได้แตกต่างไปจากน้ำตาลทรายปกตินั่นเองครับ
9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลโดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาว
10. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ ( Dryer ) เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง 1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไป

3) output

สิ่งที่ได้รับคือ
1 น้ๅตาลทราย
2  กากน้ำตาล
3 ชานอ้อย

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment I
1.Smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ
2.android คืออะไร ปกกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน
3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
ใส่ที่มาของสารสนเทศนั้น
1.retrieved from http://www.xxxxxxxxxxxxx.com จากเว็บ
2.เทคโนโลยีสารสนเทศ ยืน ภู่อรวรรณ 2556. จากหนังสือ
3.it ยุค2011 ครุบริทัศน์ เมษา มิ.ย. 2555 จากวารสาร


1.Smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ
       Smart Phone  คือ โทรศัพท์ที่มีความสามารถมากกว่าการโทรออกและรับสายด้วยความที่ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายในทำให้มันสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเราซื้อ Smart Phone สิ่งที่เราจะได้มาพร้อมกับเครื่องก็คือ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆเช่นAndroid,IOS, Windows  mobile เวอร์ชั่นต่างๆ นอกจากนี้จะมีโปรแกรมต่างๆที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์จำนวนหนึ่งโปรแกรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่า"แอ็พ"โดยมีทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรีและแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อโดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับ Smart Phone ก็คือ Internet ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายค่าย และมี Internetความเร็วต่างๆให้ได้เลือกใช้งาน เช่น Wifi, EDGE/GPRS, 3G เป็นต้น
 Smart Phone  มีประโยชน์ ดังนี้
      1. สามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายไร้สายได้ทุกที่
      2. สามารถรับส่งอีเมลได้อย่างสะดวกสบาย
     3. สามารถสร้างงานเอกสารได้
     4. สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย
     5. สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้อย่างหลากหลายง่ายต่อการโอนถ่ายและแลกเปลี่ยนข้อมูล 
          Retricved from http://pisutta.ning.com/

2.android คืออะไร ปกกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน
        
  แอนดรอยด์ (อังกฤษ: androidเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ:Android Inc.จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น

   แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
  
  โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ เอชทีซี ดรีม ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551
           android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardwareชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์
     


3. Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด
ใส่ที่มาของสารสนเทศนั้น

           Cyber bully  คือ การรังแกกันในโลกจริงคือการที่คนๆ หนึ่งใช้อำนาจข่มเหงต่อเหยื่อซ้ำๆ ส่วนในโลกออนไลน์นั้น อำนาจที่ว่าขึ้นอยู่กับว่าเด็กวัยรุ่นคนนั้นเป็นที่นิยมมากแค่ไหนในโลกดิจิตอล ยกตัวอย่างเช่นในเฟสบุ๊ค การที่คนๆ หนึ่งมีเพื่อนมากหมายความว่าพวกเขามีสถานะที่ดีกว่า
       
         คนจำนวนมาก รวมถึงเหยื่อที่โดนรังแกเองคิดว่าการข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ตต้องเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งถึงจะเรียกว่าเป็นการข่มเหงรังแก แต่ในบางกรณีแล้วเมื่อมันเกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียวก็มีผลต่ออีโก้และความการเห็นคุณค่าในตัวเองของคนๆ หนึ่งได้
           และการเกิดกรณีดังกล่าวก็เกิดขึ้นหลายครั้งมากกว่าที่คิด อาจเป็นไปได้ว่าวัยรุ่นหรือพ่อแม่ไม่เห็นว่ามันเป็นภัยที่รุนแรงพอจะต้องแจ้งให้ทราบ ในการวิจัยชิ้นล่าสุด แม้จะมีการบอกว่ากรณีรายงานการข่มเหงทางอินเตอร์เน็ตหลายกรณีเป็นการรายงานเกินจริง แต่ก็พบว่ามีวัยรุ่นเกือบครึ่งหนึ่งรายงานว่าตนเป็นเหยื่อของการข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ตอย่างน้อยหนึ่งครั้ง    

Retricved  from  http://prachatai.com